Powered By Blogger

Creolization..?

       Creolization การกลืนกินชาติด้วยวัฒนธรรม  คือ การเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศของตนให้เป็นที่ยอมรับ และนำมาปฏิบัติจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมสากล แต่ก่อนเมื่อในอดีต การเกิดขึ้นของสงครามจะเป็นการแก่งแย่งชิงดินแดนและทรัพยากร เพราะสงครามในขณะนั้นจะเป็นการขยายอาณาเขตออกไป โดยมิได้มุ่งหวังเพียงดินแดนเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังทรัพยากรในดินแดนอีกด้วยหลังจากนั้น ภายหลังที่สงครามโลกสิ้นสุดลง ก็พบว่า สหประชาชาติสามารถยับยั้งการทำสงครามอาวุธได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อสงครามอาวุธผ่านไปก็จะกลายเป็นสงครามเศรษฐกิจที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การทำสงครามเศรษฐกิจโดยการใช้วัฒนธรรมเข้าไปแทรกแซงเป็นการกลืนชาติด้วย ที่เรียกว่า “Crelization” หมายความว่า เป็นความพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในชาตินั้นๆ โดยครอบงำทำให้คนมีวิถีชีวิตตามแบบฉบับวัฒนธรรมของตน หรือรู้สึกว่าเหมือนเป็นวัฒนธรรมของตน เช่น การแต่งการที่สุภาพคือการที่ผู้ชายใส่สูทผุกไทด์ หญิงนุ่งกระโปรงยาวคลุมเข่า,การกินกาแฟตอนเช้า,การพูดฮัลโหลเมื่อรับสายโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งประเทศแรกที่ประสปความสำเร็จคือ ประเทศอเมริกาโดยการเผยแพร่ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เนท เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเราได้รับข่าวสาร หรือดูหนังเป็นประจำทำให้เกิดการซึมซาบของวัฒนธรรมต่างชาติโดยไม่รู้ตัว ดังเช่นในปัจจุบันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีที่ประสปความสำเร็จในการทำ creolization ที่เด่นชัดเลยก็เรื่องของการทำศัลยกรรมความสวยความงาม การใส่คอนแทคเลนส์ที่เป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ 
       ปัจจุบันแนวคิดเรื่อง Creolization เริ่มรุนแรงมากขึ้น เพราะอเมริกาเริ่มคิดว่าการชนะด้วยสงครามเศรษฐกิจคงจะทำไม่ได้ง่ายนัก หากแต่ใช้ “สงครามวัฒนธรรม” (Cultural War) ก็จะสามารถชนะได้ในทุกภูมิภาคของโลก ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประชาชนในประเทศเหล่านี้ชอบที่จะเปิดรับความทันสมัย รับเอาวัฒนธรรมที่มีความแปลกใหม่ ทำให้ถูกครอบงำได้โดยง่ายผ่านตัวสินค้าและบริการ  เป็นต้น
        การเกิดขึ้นของกระแสวัฒนธรรมโลกจะทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำขายได้ทั่วโลก (Economy of Global Scales) ซึ่งเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ข้ามชาติจากประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศโลกที่สาม เมื่อเรายอมรับวิถีชีวิตใดๆ ก็ตาม วิถีชีวิตเหล่านั้นย่อมจะต้องร้องขอสินค้าบางอย่างเพื่อที่จะทำให้การดำเนินชีวิตเหล่านั้นเดินต่อไปได้ เช่น เมื่อเรายอมรับวิถีชีวิตดิจิทัล (Digital) เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และ PC ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเราโดยการรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้
         ส่วนตัวคิดว่าเราควรเลือกรับเอาส่วนที่ดีของเค้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และไม่ทำลายวัฒนธรรมเดิมของไทย ยังรักและหวงแหนในความเป็นไทยสืบทอดต่อไปยังรุ่นหลังๆค่ะ


อ้างอิง : http://www.oknation.net
              http://www.nidambe11.net

โครงการ IB Edutainment








       วันที่ 28 สิงหาคม 2552 วันเปิดงานวันแรกของโครงการ International Business Edutainment 2009 ซึ่งงานจะมีระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม มาถึงมหาลัย แต่เช้ามาดูเพื่อนๆเตรียมงานก่อนที่จะถึงเวลาเปิดงานตอน 10:00 นเราอยู่กลุ่ม MGX ไม่ต้องออกบูธประเทศที่เลือก เพราะอาจารย์บอกเอาแค่ 10 ประเทศ(เหมือนถูกทิ้งเลย)คอยช่วยเพื่อนๆ บางคนก็เกรงใจ บอกไม่มีไรให้ช่วยทั้งๆที่บอร์ดด้านหลังยังติดไม่เสร็จ เราไปช่วยเพื่อนกลุ่มนึงนั่นเป่าลูกโป่ง ที่เป็นกิจกรรมชิงของรางวัล วันนี้ต้องสนุกแน่ๆ
         รูปแบบของงานจะเป็นการจัดแสดงนิทรรศการพร้อมกิจกรรมบนเวที  อธิบายถึงประวัติความเป็นมาและวิธีการบริหารงานของบริษัทข้ามชาติทั้งของไทยและของต่างประเทศ ทั้งหมด 10 ประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ (S&P)
2. อินเดีย (ชาอินเดีย)
3. ฟินแลนด์ (โนเกีย)
4. อเมริกา (Apple)
5. เกาหลี (MISSHA)
6. ญี่ปุ่น (นมเปรี้ยว คาลพิส แลคโตะ)
7. สวิสเซอร์แลนด์ (โออิชิ)
8. จีน (ฮานามิ)
9. สิงคโปร์ (Asia Soft)
10.ฝรั่งเศส (น้ำแร่ Evian)
        จากการออกบูทของแต่ละประเทศมีความน่าสนใจ การเล่นเกมส์เพื่อแลกของรางวัล ในแต่ละบูท จากกิจกรรมการแสดงนิทรรศการ และการออกบูทของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกันบางบูทมีการออกแบบบูทที่สวยงามและมีแนวความคิดที่ดีทำให้ได้รับความสนใจจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความสามัคคี การร่วมมือร่วมใจใน การทำงานเป็นทีม มีการร่วมกันวางแผนที่ดีซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม จากผลการปฏิบัติงานดังกล่าวทำให้ทราบข้อมูลประวัติของกิจการข้ามชาติทั้ง 10 ประเทศและกลยุทธ์การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบริษัท กิจกรรมสนุกมากค่ะ เพื่อนๆมาดูงานเยอะเลย และภายในงานมีการนำเสนอ Country Report ที่น่าสนใจของแต่ละประเทศแตกต่างกันกลุ่มไหนเตรียมตัวมาดีผลงานที่ออกมาก็ดีตามไปด้วย  อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอที่ดี ควรนำเสนอในสิ่งที่คิดว่าเป็นจุดแข็งของตน และควรนำเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของประเทศให้มากขึ้นค่ะ เพื่อนๆที่ไปร่วมงานก็ได้เพชรติดสมุดกิจกรรมด้วย งานนี้ทั้งสนุก ได้ความรู้แล้วก็เพรชค่ะ

Last week..

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่ต้องเขึยนบล็อค เพราะสัปดาห์หน้าอาจารย์จะสรุปเนื้อหาที่เรียนมา เพราะนักศึกษา(บางคน)เริ่มสอบกันในสัปดาห์หน้าที่จะถึงแล้ว สัปดาห์นี้อาจารย์อธิบายถึงโครงสร้างองค์กรของบริษัทข้ามชาติและการจัดโครงสร้างองค์กรของธุรกิจประเภทต่างๆ ที่มีรูปแบบการจัดโครงสร้างที่แตกต่างกัน เพราะธุรกิจข้ามชาติ ต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
การจัดองค์กร คือ การประสานงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร สะท้อนว่า ธุรกิจควรจัดองค์กรในรูปแบบใด
รูปแบบการของจัดโครงสร้างองค์การธุรกิจระหว่างประเทศ
- แบบแบ่งตามหน้าที่ เน้นไปที่การทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล เป็นต้น แต่ละฝ่ายมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ภายในประเทศและต่างประเทศ การบริหารงานจะอยู่ที่ส่วนกลาง

ข้อดี คือหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน,สร้างความชำนาญเฉพาะด้าน,ง่ายต่อการควบคุมดูแลของผูบริหารระดับสูง
ข้อเสีย คือขาดการประสานงานกันและไม่ยืดหยุ่น,ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีสายผลิตภัณฑ์จำนวนมาก
- แบ่งตามสายผลิตภัณฑ์  ใช้กรณีที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายหรือต้องดำเนินงานหลายประเทศ
ข้อดี สามารถปรับผลิภัณฑ์ ได้ตรงตามความต้องการของคนในพื้นที่และปรับเปลี่ยนได้ทันเวลา,
  ลดการสับสนของการบริหารผลิตภัณฑ์หลายชนิด
ข้อเสีย ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนาสูง การถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้ต้นทุนสูงเพราะต้องนำกำลังคนไปประจำในแต่ละพื้นที่, โอกาสในการเกิดนวัตกรรมน้อย, ขาดความเป็นเอกลักษณ์
- แบบผสมผสาน เป็นการรวมเอาแนวคิดการจัดองค์การรูปแบบอื่นมาผสมกัน ทำได้หลายลักษณะ เช่น ผสมระหว่างหน้าที่กับพื้นที่
ข้อดี สามารถเลือกรูปแบบโครงสร้างองค์การที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในแต่ละระดับได้
ข้อเสีย ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานต่างๆ
- แบ่งเป็นแผนกส่งออก  เป็นการจัดโครงสร้างที่แยกเป็นแผนกส่งออกเพิ่มขึ้นจากโครงสร้างองค์การเดิม เพื่อดูแลรับผิดชอบเฉพาะด้านตลาดส่งออกในต่างประเทศ
- แยกเป็นฝ่ายต่างประเทศ เป็นการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ให้กับฝ่ายต่างประเทศที่อยู่ในสำนักงานใหญ่เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการสาขาในต่างประเทศ หรือไม่แยกก็ได้เพราะยอดขายในต่างประเทศอาจไม่คุ้มที่จะตั้งแผนกเพิ่ม
ข้อดี ช่วยลดภาระของผู้บริหารโดยข้อมูลจากฝ่ายต่างประเทศสามารถกลั่นกรองได้ก่อนที่จะเสนอไปยังกรรมการบริหาร
ข้อเสีย ทำให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างฝ่ายในประเทศ และ ฝ่ายต่างประเทศ,สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และถ้าบุคลากรไม่มีความสามารถอาจก่อให้เกิดปัญหาได้




- จัดโดยยึดผลิตภัณฑ์สากล บริษัทต้องมีสินค้าหลากหลาย จะตั้งเป็นแผนกขึ้นมาโดยยึดความสำคัญของสินค้าแต่ละประเภท มองตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเพียงตลาดเดียว รวมอำนาจไว้ที่สำนักงานใหญ่
ข้อดี สามารถตอบสนองได้ดีต่อสภาพการแข่งขัน,การบริหารงานมีความสอดคล้องกับตลาดในประเทศต่างๆ
ข้อเสีย รวมอำนาจการบริหารงานที่สำนักงานใหญ่

- ยึดหลักพื้นที่  มีบริษัทสาขาในต่างประเทศ เจาะจงลงไปในแต่ละพื้นที่ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการบริการอันเป็นที่ต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ
ข้อดี ยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขัน มอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ระดับท้องถิ่น 
ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย(ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรการผลิต),ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
- แบบเมททริก เน้นการประสานความสัมพันธ์ในความรับผิดชอบ 3 ส่วนเข้าด้วยกัน คือ ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ และ หน้าที่ด้านต่างๆ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายและมีการดำเนินงานในหลายประเภท (ต้องเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่สามารถนำทรัพยากรมาใช้ร่วมกันได้) กลยุทธ์ขององค์กรต้องชัดเจน อาจารย์ยกตัวอยากเช่น บริษัท P&G ข้อดี การใช้ทรัพยากรร่วมกันเพราะไม่สามารถควบคุมการผลิตได้
ข้อดี . มีการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายต่างๆ,มีความยืดหยุ่นสูงต่อการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสามารถเรียนรู้ลักษณะงานในหลายบทบาทของผู้บริหาร
ข้อเสีย มีหัวหน้างานหลายคน,ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ