Powered By Blogger

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ

สัปดาห์สุดท้ายก่อนการสอบกลางภาค
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
1. ลัทธิพาณิชย์นิยม หรือ การค้านิยม "ทองเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง" การสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ผู้ผลิตภายในประเทศส่งออกสินค้าให้มากที่สุด และ นำเข้าสินค้าจากต่าประเทศให้น้อย
โทมัส มุน - ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อ ต้องส่งออกให้มากที่สุดและนำเข้าให้น้อยที่สุด และจากการช่วยเหลือของรัฐ (Zero Sungame)
2. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ "อดัม สมิธ" หลักการจัดการแบ่งงานกันตามความชำนาญ ความได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่ประเทศหนึ่ง สามารถผลิตสินค้าได้เท่ากับที่ประเทศอื่นผลิตได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า หรือ ปัจจัยการผลิตเท่ากัน แต่สามารถผลิตสินค้าได้มากว่า ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศควรเลือกสินค้าที่สามารถผลิตแล้วได้เปรียบ(โดยอาจารย์ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น)
3. ทฤษฎีความได้เปรียบเทียบ "เดวิท ริคาโด" ประเทศที่มีความได้เปรียบในสินค้าชนิดใดควรทำการผลิตสินค้าชิ้นนั้น และซื้อสินค้าที่ตนไม่มีความชำนาญ (ถ้ามึความสามารถหลายด้าน ก็เลือกด้านที่ชำนาญกว่า)
4. ทฤษฎีของ แฮกเกอร์ ลอแลง หลักการสำคัญ คือ ความแตกต่างทางการผลิตนั้นเกิดจากประเพณีที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของต้นทุนการผลิต ปัจจัยในการผลิต ดังนั้นประเทศหนึ่งๆ ควรจะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรในประเทศ และนำเข้าสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเนื่องจากขาดทรัพยากร
5. ทฤษฎีของผลิตภัณฑ์ เชื่อว่าสินค้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะมีราคาสูง

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน 4 ประการ
1. ความพร้อมของประเทศ
2. เงื่อนไขความต้องการของสินค้า
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุน
4. กลยุทธ์ โครงสร้าง และการแข่งขันทางธุรกิจ

เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเนื้อหาการสอบปลายภาค อยากให้อาจารย์อธิบายถึงแนวข้อสอบมากขึ้นเนื่องจากข้อสอบเป็นข้อเขียนค่ะ

Globalization โลกาภิวัตน์ กับความเป็นสากล

Globalization โลกาภิวัตน์ กับความเป็นสากล
      แนวโน้มการปรับเข้าหากันของระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลทำให้ประชาชนในประเทศต่างๆ มีพฤติกรรมคล้ายกัน ภายใต้ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม
ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นสากล
1. การพัฒนาทางด้านการคมนาคม และการสื่อสาร
2. แนวโน้มตลาดสากล คือ แนวโน้มที่ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ นิยมบริโภคสินค้าหรือบริการเหมือน ๆ กัน
3. แนวโน้มผลิตภัณฑ์สากล หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ถูกพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก เช่น Apple
4. แนวโน้มผลิตแบบสากล เช่น คอมพิวเตอร์ อาศัยชิ้นส่วนจากหลายประเทศ

จาการสอนโดยการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ยังงงๆ

กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ


กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

1. การจัดการเชิงกลยุทธ์

   1.1 วิสันทัศน์

   1.2 ภารกิจ

   1.3 เป้าหมายของวัตุประสงค์

2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

3. การวางแผนกลยุทธ์

4. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจระหว่างประเทศ

5. การวิเคราะห์กลยุทธ์ในระดับนานาชาติ
   5.1 การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท
   5.2 การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
   5.3 การดำเนินกลยุทธ์ระดับหน้าที่

ความรู้เรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ

            อาจารย์อธิบายเนื้อหา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ โดยจะเน้นการจัดการองค์กรที่อยุ่ในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบริษัทข้ามชาติ โดยจะแยกเป็นส่วนต่างๆ การตลาด การงิน การผลิต ซึ่งบริษัทจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษกิจของประเทศที่รับการลงทุน มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นของคนในท้องที่ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งผลให้คนในประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และกระตุ้นให้บริษัทเอกชนของไทยเริ่มต้นเข้าสู่การทำธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะธุรกิจระหว่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก บรรษัทข้ามชาติของแต่ละประเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยี และพยายามหาแนวทางพัฒนากลยุทธ์ ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายอำนาจทางการตลาด สามารถขายสินค้าของตนไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจข้ามชาติ ย่อมมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของประเทศที่ธุรกิจข้ามชาติต้องการไปลงทุน การหาพันธมิตรทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงทุน (joint venture) หรือการตกลงทำธุรกิจร่วมกัน โดยการทำสัญญาความร่วมมือระหว่างกัน (contractual relationship) เป็นต้น



วันนี้เหนื่อยมากค่ะ เรียนทั้งสองวิทยาเขตเลยขอตัวไปพักผ่อนก่อนดีกว่า โดยหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านน๊ะคะ

อ้างอิง : http://news.sanook.com/economic
              http://www.sme.go.th/