Powered By Blogger

Creolization..?

       Creolization การกลืนกินชาติด้วยวัฒนธรรม  คือ การเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศของตนให้เป็นที่ยอมรับ และนำมาปฏิบัติจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมสากล แต่ก่อนเมื่อในอดีต การเกิดขึ้นของสงครามจะเป็นการแก่งแย่งชิงดินแดนและทรัพยากร เพราะสงครามในขณะนั้นจะเป็นการขยายอาณาเขตออกไป โดยมิได้มุ่งหวังเพียงดินแดนเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังทรัพยากรในดินแดนอีกด้วยหลังจากนั้น ภายหลังที่สงครามโลกสิ้นสุดลง ก็พบว่า สหประชาชาติสามารถยับยั้งการทำสงครามอาวุธได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อสงครามอาวุธผ่านไปก็จะกลายเป็นสงครามเศรษฐกิจที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การทำสงครามเศรษฐกิจโดยการใช้วัฒนธรรมเข้าไปแทรกแซงเป็นการกลืนชาติด้วย ที่เรียกว่า “Crelization” หมายความว่า เป็นความพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมของตนให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในชาตินั้นๆ โดยครอบงำทำให้คนมีวิถีชีวิตตามแบบฉบับวัฒนธรรมของตน หรือรู้สึกว่าเหมือนเป็นวัฒนธรรมของตน เช่น การแต่งการที่สุภาพคือการที่ผู้ชายใส่สูทผุกไทด์ หญิงนุ่งกระโปรงยาวคลุมเข่า,การกินกาแฟตอนเช้า,การพูดฮัลโหลเมื่อรับสายโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งประเทศแรกที่ประสปความสำเร็จคือ ประเทศอเมริกาโดยการเผยแพร่ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เนท เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเราได้รับข่าวสาร หรือดูหนังเป็นประจำทำให้เกิดการซึมซาบของวัฒนธรรมต่างชาติโดยไม่รู้ตัว ดังเช่นในปัจจุบันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีที่ประสปความสำเร็จในการทำ creolization ที่เด่นชัดเลยก็เรื่องของการทำศัลยกรรมความสวยความงาม การใส่คอนแทคเลนส์ที่เป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ 
       ปัจจุบันแนวคิดเรื่อง Creolization เริ่มรุนแรงมากขึ้น เพราะอเมริกาเริ่มคิดว่าการชนะด้วยสงครามเศรษฐกิจคงจะทำไม่ได้ง่ายนัก หากแต่ใช้ “สงครามวัฒนธรรม” (Cultural War) ก็จะสามารถชนะได้ในทุกภูมิภาคของโลก ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประชาชนในประเทศเหล่านี้ชอบที่จะเปิดรับความทันสมัย รับเอาวัฒนธรรมที่มีความแปลกใหม่ ทำให้ถูกครอบงำได้โดยง่ายผ่านตัวสินค้าและบริการ  เป็นต้น
        การเกิดขึ้นของกระแสวัฒนธรรมโลกจะทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำขายได้ทั่วโลก (Economy of Global Scales) ซึ่งเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ข้ามชาติจากประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศโลกที่สาม เมื่อเรายอมรับวิถีชีวิตใดๆ ก็ตาม วิถีชีวิตเหล่านั้นย่อมจะต้องร้องขอสินค้าบางอย่างเพื่อที่จะทำให้การดำเนินชีวิตเหล่านั้นเดินต่อไปได้ เช่น เมื่อเรายอมรับวิถีชีวิตดิจิทัล (Digital) เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และ PC ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเราโดยการรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้
         ส่วนตัวคิดว่าเราควรเลือกรับเอาส่วนที่ดีของเค้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และไม่ทำลายวัฒนธรรมเดิมของไทย ยังรักและหวงแหนในความเป็นไทยสืบทอดต่อไปยังรุ่นหลังๆค่ะ


อ้างอิง : http://www.oknation.net
              http://www.nidambe11.net

โครงการ IB Edutainment








       วันที่ 28 สิงหาคม 2552 วันเปิดงานวันแรกของโครงการ International Business Edutainment 2009 ซึ่งงานจะมีระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม มาถึงมหาลัย แต่เช้ามาดูเพื่อนๆเตรียมงานก่อนที่จะถึงเวลาเปิดงานตอน 10:00 นเราอยู่กลุ่ม MGX ไม่ต้องออกบูธประเทศที่เลือก เพราะอาจารย์บอกเอาแค่ 10 ประเทศ(เหมือนถูกทิ้งเลย)คอยช่วยเพื่อนๆ บางคนก็เกรงใจ บอกไม่มีไรให้ช่วยทั้งๆที่บอร์ดด้านหลังยังติดไม่เสร็จ เราไปช่วยเพื่อนกลุ่มนึงนั่นเป่าลูกโป่ง ที่เป็นกิจกรรมชิงของรางวัล วันนี้ต้องสนุกแน่ๆ
         รูปแบบของงานจะเป็นการจัดแสดงนิทรรศการพร้อมกิจกรรมบนเวที  อธิบายถึงประวัติความเป็นมาและวิธีการบริหารงานของบริษัทข้ามชาติทั้งของไทยและของต่างประเทศ ทั้งหมด 10 ประเทศ ดังนี้
1. อังกฤษ (S&P)
2. อินเดีย (ชาอินเดีย)
3. ฟินแลนด์ (โนเกีย)
4. อเมริกา (Apple)
5. เกาหลี (MISSHA)
6. ญี่ปุ่น (นมเปรี้ยว คาลพิส แลคโตะ)
7. สวิสเซอร์แลนด์ (โออิชิ)
8. จีน (ฮานามิ)
9. สิงคโปร์ (Asia Soft)
10.ฝรั่งเศส (น้ำแร่ Evian)
        จากการออกบูทของแต่ละประเทศมีความน่าสนใจ การเล่นเกมส์เพื่อแลกของรางวัล ในแต่ละบูท จากกิจกรรมการแสดงนิทรรศการ และการออกบูทของแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกันบางบูทมีการออกแบบบูทที่สวยงามและมีแนวความคิดที่ดีทำให้ได้รับความสนใจจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความสามัคคี การร่วมมือร่วมใจใน การทำงานเป็นทีม มีการร่วมกันวางแผนที่ดีซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม จากผลการปฏิบัติงานดังกล่าวทำให้ทราบข้อมูลประวัติของกิจการข้ามชาติทั้ง 10 ประเทศและกลยุทธ์การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบริษัท กิจกรรมสนุกมากค่ะ เพื่อนๆมาดูงานเยอะเลย และภายในงานมีการนำเสนอ Country Report ที่น่าสนใจของแต่ละประเทศแตกต่างกันกลุ่มไหนเตรียมตัวมาดีผลงานที่ออกมาก็ดีตามไปด้วย  อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอที่ดี ควรนำเสนอในสิ่งที่คิดว่าเป็นจุดแข็งของตน และควรนำเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาของประเทศให้มากขึ้นค่ะ เพื่อนๆที่ไปร่วมงานก็ได้เพชรติดสมุดกิจกรรมด้วย งานนี้ทั้งสนุก ได้ความรู้แล้วก็เพรชค่ะ

Last week..

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่ต้องเขึยนบล็อค เพราะสัปดาห์หน้าอาจารย์จะสรุปเนื้อหาที่เรียนมา เพราะนักศึกษา(บางคน)เริ่มสอบกันในสัปดาห์หน้าที่จะถึงแล้ว สัปดาห์นี้อาจารย์อธิบายถึงโครงสร้างองค์กรของบริษัทข้ามชาติและการจัดโครงสร้างองค์กรของธุรกิจประเภทต่างๆ ที่มีรูปแบบการจัดโครงสร้างที่แตกต่างกัน เพราะธุรกิจข้ามชาติ ต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
การจัดองค์กร คือ การประสานงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร สะท้อนว่า ธุรกิจควรจัดองค์กรในรูปแบบใด
รูปแบบการของจัดโครงสร้างองค์การธุรกิจระหว่างประเทศ
- แบบแบ่งตามหน้าที่ เน้นไปที่การทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล เป็นต้น แต่ละฝ่ายมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ภายในประเทศและต่างประเทศ การบริหารงานจะอยู่ที่ส่วนกลาง

ข้อดี คือหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน,สร้างความชำนาญเฉพาะด้าน,ง่ายต่อการควบคุมดูแลของผูบริหารระดับสูง
ข้อเสีย คือขาดการประสานงานกันและไม่ยืดหยุ่น,ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีสายผลิตภัณฑ์จำนวนมาก
- แบ่งตามสายผลิตภัณฑ์  ใช้กรณีที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายหรือต้องดำเนินงานหลายประเทศ
ข้อดี สามารถปรับผลิภัณฑ์ ได้ตรงตามความต้องการของคนในพื้นที่และปรับเปลี่ยนได้ทันเวลา,
  ลดการสับสนของการบริหารผลิตภัณฑ์หลายชนิด
ข้อเสีย ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนาสูง การถ่ายทอดเทคโนโลยีใช้ต้นทุนสูงเพราะต้องนำกำลังคนไปประจำในแต่ละพื้นที่, โอกาสในการเกิดนวัตกรรมน้อย, ขาดความเป็นเอกลักษณ์
- แบบผสมผสาน เป็นการรวมเอาแนวคิดการจัดองค์การรูปแบบอื่นมาผสมกัน ทำได้หลายลักษณะ เช่น ผสมระหว่างหน้าที่กับพื้นที่
ข้อดี สามารถเลือกรูปแบบโครงสร้างองค์การที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในแต่ละระดับได้
ข้อเสีย ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานต่างๆ
- แบ่งเป็นแผนกส่งออก  เป็นการจัดโครงสร้างที่แยกเป็นแผนกส่งออกเพิ่มขึ้นจากโครงสร้างองค์การเดิม เพื่อดูแลรับผิดชอบเฉพาะด้านตลาดส่งออกในต่างประเทศ
- แยกเป็นฝ่ายต่างประเทศ เป็นการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ให้กับฝ่ายต่างประเทศที่อยู่ในสำนักงานใหญ่เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการสาขาในต่างประเทศ หรือไม่แยกก็ได้เพราะยอดขายในต่างประเทศอาจไม่คุ้มที่จะตั้งแผนกเพิ่ม
ข้อดี ช่วยลดภาระของผู้บริหารโดยข้อมูลจากฝ่ายต่างประเทศสามารถกลั่นกรองได้ก่อนที่จะเสนอไปยังกรรมการบริหาร
ข้อเสีย ทำให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างฝ่ายในประเทศ และ ฝ่ายต่างประเทศ,สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และถ้าบุคลากรไม่มีความสามารถอาจก่อให้เกิดปัญหาได้




- จัดโดยยึดผลิตภัณฑ์สากล บริษัทต้องมีสินค้าหลากหลาย จะตั้งเป็นแผนกขึ้นมาโดยยึดความสำคัญของสินค้าแต่ละประเภท มองตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเพียงตลาดเดียว รวมอำนาจไว้ที่สำนักงานใหญ่
ข้อดี สามารถตอบสนองได้ดีต่อสภาพการแข่งขัน,การบริหารงานมีความสอดคล้องกับตลาดในประเทศต่างๆ
ข้อเสีย รวมอำนาจการบริหารงานที่สำนักงานใหญ่

- ยึดหลักพื้นที่  มีบริษัทสาขาในต่างประเทศ เจาะจงลงไปในแต่ละพื้นที่ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการบริการอันเป็นที่ต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ
ข้อดี ยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขัน มอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ระดับท้องถิ่น 
ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย(ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรการผลิต),ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
- แบบเมททริก เน้นการประสานความสัมพันธ์ในความรับผิดชอบ 3 ส่วนเข้าด้วยกัน คือ ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ และ หน้าที่ด้านต่างๆ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายและมีการดำเนินงานในหลายประเภท (ต้องเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่สามารถนำทรัพยากรมาใช้ร่วมกันได้) กลยุทธ์ขององค์กรต้องชัดเจน อาจารย์ยกตัวอยากเช่น บริษัท P&G ข้อดี การใช้ทรัพยากรร่วมกันเพราะไม่สามารถควบคุมการผลิตได้
ข้อดี . มีการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายต่างๆ,มีความยืดหยุ่นสูงต่อการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสามารถเรียนรู้ลักษณะงานในหลายบทบาทของผู้บริหาร
ข้อเสีย มีหัวหน้างานหลายคน,ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ

กลยุทธ์ของธุรกิจข้ามชาติ 4 กลยุทธ์ ดังนี้
1.กลยุทธ์ระหว่างประเทศ(International Strategy)
มีแรงกดด้านต้นทุนต่ำและมีการปรับเปลี่ยนให้ตรงตามความต้องการของคนในท้องถิ่นต่ำ เช่น Louis Vuitton , JAGUAR เป็นต้น
2.กลยุทธ์ปรับเข้าหาท้องถิ่น(Multinational Strategy)
มีแรงกดดันด้านต้นทุนต่ำและมีการปรับเปลี่ยนให้ตรงตามความต้องการของคนในท้องถิ่นสูง เช่น Mcdonalที่ขายในประเทศไทย จะแตกต่างกับ Mcdonal ที่ขายในประเทศอินเดีย เป็นต้น
3.กลยุทธ์มุ่งสร้างความเป็นสากล(Global Strategy)
มีแรงกดดันด้านต้นทุนสูงแต่มีการปรับเปลี่ยนให้ครงตามความต้องการของคนในท้องถิ่นต่ำ เช่นรถยนต์ Toyota-Yaris กับ Honda-Jazz เป็นต้น
4.กลยุทธ์ข้ามชาติ(Transnational)
ธุรกิจที่มีแรงกดดันทางด้านต้นทุนสูง และมีการปรับเปลี่ยนสูง เช่น ยาเป็นต้น




กลยุทธ์ในการเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ


กลยุทธ์ในการเข้าสู่ธุรกิจต่างประเทศมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1.ขนาดของตลาดที่จะเข้าไปลงทุน

2.เลือกประเทศที่จะเข้าไปลงทุน

3.รูปแบบในการดำเนินธุรกิจ




ความเสี่ยงต่างๆที่องค์กรจะเผชิญเมื่อไปลงทุนในต่างประเทศ

1.การเมืองและกฏหมายของแต่ละประเทศวิเคราะห์โดยดูจากข้อมูลในอดีต หรือการเข้าไปคุยกับผู้ที่รู้เพราะรูปแบบการเมืองการปกครองมีผลต่อกิจการข้ามชาติ ถ้าสเถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง จะส่งผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศ
2.อัตราเสี่ยงทางการเงิน
-ความผันผวนของค่าเงิน
-การเคลื่อนย้ายเงินทุน
-สภาพการแข่งขัน หรือคู่แข่ง
-ภัยพิบัติตามธรรมชาติ

วิธีการพิจารณาประเทศที่จะเข้าไปลงทุนจากหลายๆประเทศ โดยใช้เครื่องมือ 2 ชนิด ดังนี้
1.GRID เปรียบเทียบโอกาศ ความน่าสนใจในการลงทุน ความเสี่ยงฯ จากการให้คะแนน ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว การให้น้ำหนักของแต่ละปัจจัยขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
2.MATRIX เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบที่มีปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาอย่างน้อย 2 ปัจจัย
เมื่อสามารถที่จะเลือกประเทศที่จะเข้าไปลงทุนได้แล้ว พิจารณาถึงขั้นตอนในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

  • การส่งออก
  • สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ(Turnkey Project) สัญญาที่จะเข้าไปลงทุน
  • การขายสิทธิบัตร(Licensing)
  • การขายแฟรนไชส์(Franching) ให้สิทธิทางการค้า
  • การร่วมทุนกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ (Joint Venture)
  • การเข้าไปลงทุน 100%
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ รศ.ดร. ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.geocities.com/dol_nida/Strategic_index_2.htm

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ

สัปดาห์สุดท้ายก่อนการสอบกลางภาค
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
1. ลัทธิพาณิชย์นิยม หรือ การค้านิยม "ทองเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง" การสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ผู้ผลิตภายในประเทศส่งออกสินค้าให้มากที่สุด และ นำเข้าสินค้าจากต่าประเทศให้น้อย
โทมัส มุน - ประเทศจะมั่งคั่งได้ก็ต่อเมื่อ ต้องส่งออกให้มากที่สุดและนำเข้าให้น้อยที่สุด และจากการช่วยเหลือของรัฐ (Zero Sungame)
2. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ "อดัม สมิธ" หลักการจัดการแบ่งงานกันตามความชำนาญ ความได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่ประเทศหนึ่ง สามารถผลิตสินค้าได้เท่ากับที่ประเทศอื่นผลิตได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า หรือ ปัจจัยการผลิตเท่ากัน แต่สามารถผลิตสินค้าได้มากว่า ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศควรเลือกสินค้าที่สามารถผลิตแล้วได้เปรียบ(โดยอาจารย์ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น)
3. ทฤษฎีความได้เปรียบเทียบ "เดวิท ริคาโด" ประเทศที่มีความได้เปรียบในสินค้าชนิดใดควรทำการผลิตสินค้าชิ้นนั้น และซื้อสินค้าที่ตนไม่มีความชำนาญ (ถ้ามึความสามารถหลายด้าน ก็เลือกด้านที่ชำนาญกว่า)
4. ทฤษฎีของ แฮกเกอร์ ลอแลง หลักการสำคัญ คือ ความแตกต่างทางการผลิตนั้นเกิดจากประเพณีที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของต้นทุนการผลิต ปัจจัยในการผลิต ดังนั้นประเทศหนึ่งๆ ควรจะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรในประเทศ และนำเข้าสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเนื่องจากขาดทรัพยากร
5. ทฤษฎีของผลิตภัณฑ์ เชื่อว่าสินค้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะมีราคาสูง

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน 4 ประการ
1. ความพร้อมของประเทศ
2. เงื่อนไขความต้องการของสินค้า
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุน
4. กลยุทธ์ โครงสร้าง และการแข่งขันทางธุรกิจ

เป็นสัปดาห์สุดท้ายของเนื้อหาการสอบปลายภาค อยากให้อาจารย์อธิบายถึงแนวข้อสอบมากขึ้นเนื่องจากข้อสอบเป็นข้อเขียนค่ะ

Globalization โลกาภิวัตน์ กับความเป็นสากล

Globalization โลกาภิวัตน์ กับความเป็นสากล
      แนวโน้มการปรับเข้าหากันของระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลทำให้ประชาชนในประเทศต่างๆ มีพฤติกรรมคล้ายกัน ภายใต้ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม
ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นสากล
1. การพัฒนาทางด้านการคมนาคม และการสื่อสาร
2. แนวโน้มตลาดสากล คือ แนวโน้มที่ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ นิยมบริโภคสินค้าหรือบริการเหมือน ๆ กัน
3. แนวโน้มผลิตภัณฑ์สากล หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ถูกพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก เช่น Apple
4. แนวโน้มผลิตแบบสากล เช่น คอมพิวเตอร์ อาศัยชิ้นส่วนจากหลายประเทศ

จาการสอนโดยการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ยังงงๆ

กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ


กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

1. การจัดการเชิงกลยุทธ์

   1.1 วิสันทัศน์

   1.2 ภารกิจ

   1.3 เป้าหมายของวัตุประสงค์

2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

3. การวางแผนกลยุทธ์

4. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจระหว่างประเทศ

5. การวิเคราะห์กลยุทธ์ในระดับนานาชาติ
   5.1 การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท
   5.2 การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
   5.3 การดำเนินกลยุทธ์ระดับหน้าที่

ความรู้เรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ

            อาจารย์อธิบายเนื้อหา การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ โดยจะเน้นการจัดการองค์กรที่อยุ่ในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบริษัทข้ามชาติ โดยจะแยกเป็นส่วนต่างๆ การตลาด การงิน การผลิต ซึ่งบริษัทจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษกิจของประเทศที่รับการลงทุน มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นของคนในท้องที่ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งผลให้คนในประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และกระตุ้นให้บริษัทเอกชนของไทยเริ่มต้นเข้าสู่การทำธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะธุรกิจระหว่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก บรรษัทข้ามชาติของแต่ละประเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยี และพยายามหาแนวทางพัฒนากลยุทธ์ ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายอำนาจทางการตลาด สามารถขายสินค้าของตนไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจข้ามชาติ ย่อมมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของประเทศที่ธุรกิจข้ามชาติต้องการไปลงทุน การหาพันธมิตรทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงทุน (joint venture) หรือการตกลงทำธุรกิจร่วมกัน โดยการทำสัญญาความร่วมมือระหว่างกัน (contractual relationship) เป็นต้น



วันนี้เหนื่อยมากค่ะ เรียนทั้งสองวิทยาเขตเลยขอตัวไปพักผ่อนก่อนดีกว่า โดยหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านน๊ะคะ

อ้างอิง : http://news.sanook.com/economic
              http://www.sme.go.th/

สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

สถาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีผลต่อ การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ " PEST "
1. P Politics & Laws การเมืองและกฏหมาย
สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฏหมาย เป็นปัจจัยที่บริษัทข้ามชาติคำนึงถึง ความเสี่ยงทางการเมืองพฤติกรรมทางการเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่บริษัทเข้าไปลงทุน พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ระบบการเมือง และระบกฏหมาย เพราะต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่สนใจของรัฐบาลในแต่ละประเทศ เช่น การที่ นายกฯ ไปประชุมเพื่อชักชวนให้เข้ามาลงทุนในประเทศ
กฏหมายสำคัญที่มีบทบาทสูงต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งแต่ละประเทศจะมีความเข้มงวดของกฏหมายที่แตกต่างกัน เช่นถ้าสินค้าไทยจดทะเบียนลิขสิทธ์เรียบร้อยแล้วส่งไปขายที่ประเทศที่มีการละเมิดอยู่มาก ทำให้สินค้าขายได้ในระยะสั้น ยอดขายสินค้าลดลงเร็ว
การละเมิดทรัพสินย์ทางปัญญา 3 แบบ
1.ปลอมแปลง(เหมือนจริง)
2.ปรับเครื่องหมาย
3.ลักลอบผลิต


2. E Economics สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมีส่วนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทข้ามชาติ ในขณะที่ความสำเร็จของบริษัทข้ามชาติก็มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับการลงทุน โดยอาจารย์ยกตัวอย่างที่ Disney ไปเปิดที่ฮ่องกง
-ระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
-การปรับองค์การของรัฐให้เป็นเอกชน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ขอแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
South East Asia 10 ประเทศ 1. ไทย 2. ลาว 3. พม่า 4. เวียดนาม 5. กัมพูชา 6. มาเลเซีย 7. ฟิลิปปินส์ 8. อินโดนีเซีย 9. สิงค์โปร 10. บรูไน
3. S Social & Culture สังคมและวัฒนธรรม แบบแผนการดำเนินชีวิต วิถีการดำเนินชีวิต ของคนในแต่ละชาติ โดยมีประเทศเป็นตัวแบ่งแยกวัฒนธรรม คนในประเทศเดียวอาจจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป สภาพสังคมที่แตกต่าง มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง
-อายุที่เริ่มมีวัฒนธรรมเกิดขึ้น คือ 10 ขวบ คือจะเริ่มมีความคิด ความรู้ ความเชื่อเกิดขึ้น

การเกิดขึ้นของวัฒนธรรม 2 สาเหตุ

1. การเลือกเอง เช่นการเลือกที่จะนับถือศาสนาคริสตร์ที่ต่างจากพ่อแม่

2. การเป็นผู้ถูกเลือกคือ ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แรกเป็นการกำหนดโดยผู้อื่นเช่น การใช้ภาษาไทยตามพ่อแม่สถานะทางสังคม 2 สาเหตุ

1.ติดตัวมาแต่กำเนิด : สถาบันพระมหากษัตริย์

2.เราเป็นผู้กำหนดเอง : ความสำเร็จในชีวิต ความรวย ความเก่งฯ
Creolization การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรมของคน หมายถึง การเผยแพร่วัฒนธรรมของตนให้เป็นที่ยอมรับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมสากล โดยใช้สื่อประเทศต่าง ในการประชาสัมพันธ์ ประเทศแรกคือ อเมริกา ต่อมาคือ ประเทศ ญี่ปุ่น และในปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ ภาษาสากล-ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

4. T Technology เทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้กับกิจการของตนจะได้เปรียบกิจการที่ไม่สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ได้ซึ่งประเทศที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาเสมอ ทำให้ยิ่งทิ้งห่างประเทศที่ไม่สามารถประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้

BRIC ประเทศที่กำลังเติบโตในปัจจุบัน ดังนี้ Brazil / Russia / India / China